ทดสอบน้ำหนักเครนปั้นจั่น เอกสาร ปจ.1 – โรงงานพาร์ทพลาสติก (ใช้โหลดก้อนปูน)

    งานบริการทดสอบน้ำหนักเครนปั้นจั่นเหนือศีรษะตามกฎหมายใหม่พร้อมออกเอกสารรับรองแบบทดสอบปั่นจั่น หรือ ปจ.1 โดยวิศวกรวิชาชีพควบคุมเครื่องกล

    📌 กรณีนี้ลูกค้าเลือกใช้โหลดก้อนปูนในการทดสอบน้ำหนักเครน 5 ตัน แต่จะทดสอบน้ำหนักสูงสุด 4 ตันตามพิกัดน้ำหนักสูงสุดที่ใช้งานประจำ โหลดก้อนปูนจะมีขนาด 0.25 ตัน 1 ตัน 2 ตัน ที่ผ่านการรับรองสอบเทียบวัดมาตรฐาน ผู้ทดสอบจะวางแผนจัดวางและเรียงโหลดอยู่บนฐานที่รับน้ำหนักได้สูงถึง 10 ตัน

    👉 เกณฑ์การทดสอบน้ำหนักเครนปั้นจั่นเหนือศีรษะตามกฎหมาย

    กรณีเครนปั้นจั่นใหม่ก่อนเริ่มใช้งาน กฎหมายกำหนด ดังนี้

    • เครนพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 20 ตัน ทดสอบน้ำหนักจำนวน 1-1.25 เท่าของพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ยกตัวอย่าง เครนใหม่ 10 ตัน ต้องทดสอบอย่างน้อย 1 เท่า คิดเป็น 10 ตัน ถึงสูงสุด 1.25 เท่า คิดเป็น 12.5 ตัน
    • เครนพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ทดสอบด้วยการเพิ่มน้ำหนัก 5 ตันจากพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ยกตัวอย่าง เครนใหม่ 40 ตัน ต้องทดสอบด้วยการเพิ่มน้ำหนัก 5 ตัน จาก 40 ตัน คิดเป็น 45 ตัน
    • เครนพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ทดสอบด้วยการเพิ่มน้ำหนัก 5 ตันจากพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ยกตัวอย่าง เครนใหม่ 40 ตัน ต้องทดสอบด้วยการเพิ่มน้ำหนัก 5 ตัน จาก 40 ตัน คิดเป็น 45 ตัน

    กรณีเครนปั้นจั่นใหม่ใช้งานแล้ว กฎหมายกำหนด ดังนี้

    • เครนพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 3 ตัน ทดสอบน้ำหนักทุก 12 เดือน โดยให้ทดสอบน้ำหนักจำนวน 1.25 เท่าของพิกัดน้ำหนักสูงสุดที่ใช้จริงแต่ไม่เกินพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ตัวอย่าง เครนใช้งานแล้ว SWL 5 ตัน ใช้งานจริงสูงสุด 3.2 ตันต้องทดสอบอย่างน้อย 1.25 เท่า คิดเป็น 4 ตัน ซึ่งไม่เกิน SWL
    • เครนพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ทดสอบน้ำหนักทุก 6 เดือน โดยให้ทดสอบน้ำหนักจำนวน 1.25 เท่าของพิกัดน้ำหนักสูงสุดที่ใช้จริงแต่ไม่เกินพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ตัวอย่าง เครนใช้งานแล้ว SWL10 ตัน ใช้งานจริงสูงสุด 9 ตัน ต้องทดสอบอย่างน้อย 1.25 เท่า คิดเป็น 11.25 ตัน ซึ่งเกิน SWL จึงจะทดสอบได้ไม่เกิน SWL คิดเป็น 10 ตัน
    • เครนพิกัดน้ำหนักตั้งแต่ 50 ตันขึ้นไป ทดสอบน้ำหนักทุก 3 เดือน โดยให้ทดสอบน้ำหนักจำนวน 1.25 เท่าของพิกัดน้ำหนักสูงสุดที่ใช้จริงแต่ไม่เกินพิกัดน้ำหนักยกที่ปลอดภัยที่คานเครนรับได้ [SWL] ตัวอย่าง เครนใช้งานแล้ว SWL 80 ตัน ใช้งานจริงสูงสุด 80 ตัน ต้องทดสอบอย่างน้อย 1.25 เท่า คิดเป็น 100 ตัน ซึ่งเกิน SWL จึงจะทดสอบได้ไม่เกิน SWL คิดเป็น 80 ตัน

    ประเภทน้ำหนักโหลดที่ใช้ในการทดสอบน้ำหนักตามกฎหมายอธิบายชนิดโหลดไว้ ดังนี้

    1. น้ำหนักโหลดจำลอง Load Simulation คือ น้ำหนักที่จำลองด้วยแรงดึงหรือแรงกระทำที่ทำให้เกิดน้ำหนักผ่านอุปกรณ์อ่านน้ำหนัก เช่น Load Cell หรือ Dynamometer ซึ่งจะสามารถควบคุมแรงได้ตามพิกัดน้ำหนักที่จะใช้ทดสอบ
    2. น้ำหนักโหลดจริง Load Actual คือ น้ำหนักจริงของมวลวัตถุหรือวัสดุที่ต้องรวมปริมาณหรือจำนวนให้ได้ตามพิกัดน้ำหนักที่จะใช้ทดสอบ
    • น้ำหนักโหลดจริงแบบวัสดุจริง คือ น้ำหนักวัสดุหรือชิ้นงานที่หาได้จากพื้นที่ทดสอบน้ำหนัก เช่น ม้วนคอยล์เหล็ก โมลด์แม่พิมพ์ เป็นต้นโดยเจ้าของเครนจะต้องจัดเตรียมให้ผู้ทดสอบตามพิกัดที่ใช้ทดสอบตามกฎหมาย โดยผู้ทดสอบควรมีเครื่องอ่านน้ำหนักที่ผ่านการสอบเทียบวัดชั่งตวงเพื่อยืนยันน้ำจริงที่ใช้ทดสอบ
    • น้ำหนักโหลดจริงแบบ Test Weight คือ น้ำหนักวัสดุที่เป็นน้ำหนักคงที่ในรูปร่างก้อนตุ้มหรือแท่งน้ำหนัก [Test Weight] เพื่อใช้ในการทดสอบน้ำหนักโดยเฉพาะที่ต้องผ่านการสอบเทียบวัดสม่ำเสมอ โดย Test Weight สามารถทำจาก ปูนคอนกรีต โลหะเหล็ก ถุงบรรจุน้ำ เป็นต้น

    ข้อดีข้อเสียของ “น้ำหนักโหลดจริง” ที่ใช้ทดสอบเครนปั้นจั่น

    1. น้ำหนักโหลดจริงแบบวัสดุจริง
      ✅️ ข้อดี คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเช่าและค่าขนย้ายก้อนตุ้มน้ำหนัก [Test Weight]
      ⛔️ ข้อเสีย คือ ลูกค้าต้องจัดเตรียมน้ำหนักโหลดไว้ให้พร้อมตามพิกัดที่ใช้ทดสอบตามกฎหมาย ซึ่งมักจะไม่สามารถจัดหาน้ำหนักได้พอดีตรงตามพิกัดที่ต้องใช้ทดสอบ และต้องเสียเวลาชั่งน้ำหนักโหลดแต่ละชิ้นหลายชิ้นเพื่อนำน้ำหนักมารวมกันจนกว่าจะครบ รวมถึงปัญหาในการจัดเรียงน้ำหนักหลายชิ้นที่รูปร่างต่างกันเพื่อการยกและยึดเกาะผูกรัดวัสดุอย่างปลอดภัย
    2. น้ำหนักโหลดจริงแบบ Test Weight
      ✅️ ข้อดี คือ ลูกค้าไม่ต้องจัดเตรียมและไม่ต้องเสียเวลาชั่งน้ำหนักชิ้นงานเพื่อรวมน้ำหนักที่จะใช้เป็นโหลดในการทดสอบน้ำหนัก รวมถึงยากลำบากต่อจัดเรียงชิ้นงานที่รูปร่างแตกต่างกัน ส่งผลต่อการผูกรัดยึดเกาะไม่สมดุล
      ⛔️ ข้อเสีย คือ ภาระค่าใช้จ่ายในการเช่าและค่าขนย้ายก้อนตุ้มน้ำหนัก [Test Weight] สูงกว่าการใช้โหลดจริงของลูกค้า และอาจเสรยเวลาในการย้ายก้อนโหลดไปยังพื้นที่ทดสอบน้ำหนักอยู่เล็กน้อย

    ⚠️ สรุป กรณีที่ลูกค้าเลือกใช้โหลดจริงชนิด Test Weight จะมีภาระค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้โหลดจริงของลูกค้าแต่การเลือกใช้โหลดจริงของลูกค้าก็ลดภาระค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ดังนั้น ถ้าลูกค้าเลือกใช้โหลดจริงของลูกค้า ลูกค้าสามารถปรึกษาวิศวกรผู้ทดสอบเพื่อขอคำแนะนำในการจัดเตรียมโหลด ทีมของเราจะมีการคำนวณน้ำหนักขั้นต่ำหรือคำนวนย้อนกลับ [Reverse Calculation]

    📌 TTMCRANE ประสบการณ์กว่า 30 ปี !!
    กับการขึ้นเป็นอันดับ 1 ของงานลิฟต์ รอก เครน และงานโมดิฟาย
    👍 ความเป็นมืออาชีพ
    ใช้ประสบการณ์ที่ยาวนานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด คุ้มค่า คุ้มเวลาที่เสียและสร้างความมืออาชีพไปสู่สายตาลูกค้า
    👍 ความเป็นทีมเวิร์ค
    เน้นพัฒนาทีมให้มีความรู้และมีผลงานที่ดี ให้มีความก้าวหน้าและถ่ายทอดความรู้ไปอีกได้ เพื่อสร้างรากฐานการดำเนินงานที่มั่นคง
    👍 คุณภาพและมาตรฐาน
    ช่างและทีมวิศวกรมากกว่า 40 คนมีประสบการณ์จากการตรวจเช็คและทดสอบกว่า 100 รายการ เรายังได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากลอีกด้วย


    TTMCRANEผู้เชี่ยวชาญด้านลิฟต์ เครน และงานโมดิฟาย การันตีด้วยมาตรฐานรองรับระดับสากล ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO คุณภาพ 9001:2015 สิ่งแวดล้อม 14001:2015 ความปลอดภัยและชีวอนามัย 45001:2018
    ———————————————————
    📌สนใจติดต่อสอบถาม
    📞Tell : 085-908-2254
    ID Line​: jirayuttm / http://line.me/ti/p/~jirayuttm
    Website: www.ttmcrane.com

    Similar Posts